วันอาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553



การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์สากล

หลักเกณฑ์ในการแบ่งสมัยทางประวัติศาสตร์ไทย สามารถแบ่งช่วงในการศึกษาได้เป็น 2 ช่วง ได้แก่ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และสมัยประวัติศาสตร์ โดยการแบ่งสมัยก่อนประวัติศาสตร์กับสมัย ประวัติศาสตร์ ยึดถือเอาอายุของตัวอักษรที่เก่าแก่ทสุดเป็นเกณฑ์การแบ่ง สำหรับดินแดนประเทศ ไทยเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์เมื่อพุทธศตวรรษที่ 11 โดยใช้อายุของตัวอักษรบนจารึกซึ่งพบจาก เมืองโบราณที่ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นหลัก โดยแต่ละสมัย นักวิชาการจะใช้หลักฐานในการศึกษาแตกต่างกัน ดังนี้

1).สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นสมัยที่มนุษย์ยังไม่มีตัวอักษรสำหรับบันทึกเรื่องราว การศึกษาร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในช่วงนี้จึงจำเป็นต้องอาศัยการวิเคราะห์ตีความจาก หลักฐานชั้นต้นที่ได้จากการสำรวจทางโบราณคดี เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยหิน โลหะ เครื่อง ประดับ เครื่องปั้นดินเผา โครงกระดูก เมล็ดพืช ภาพเขียนสีตามฝาผนังถ้ำ


2).สมัยประวัติศาสตร์ เป็นช่วงที่มีตัวอักษรใช้บันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ แล้ว การศึกษาประวัติความเป็นมาของชุมชนในสมัยประวัติศาสตร์ จะมีการใช้หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์ อักษร เช่น จารึก จดหมายเหตุ บันทึกการเดินทาง ปูมโหร พงศาวดาร ตำนาน เป็นต้น และ หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ว่าจะเป็นโบราณสถาน เช่น เจดีย์ ปราสาทหิน เมืองโบราณ วัด เป็นต้น และโบราณวัตถุ เช่น พระพุทธรูป เทวรูป เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องประดับ เงินเหรียญ เป็นต้น มาเป็นข้อมูลสำหรับวิเคราะห์ตีความเพื่อให้ทราบเรื่องราวความเป็นมาในอดีตให้ชัดเจน ยิ่งขึ้น

หลักเกณฑ์การแบ่งยุคในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ การแบ่งยุคในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ นักวิชาการมีหลักในการแบ่งยุค ดังนี้
แบบที่หนึ่ง ให้ความสำคัญในเรื่องของเทคโนโลยีการทำเครื่องมือเครื่องใช้ โดยถือว่า เทคโนโลยีมีความสำคัญต่อพัฒนาการของมนุษย์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ยุค ประกอบด้วย

1) ยุคหิน แบ่งย่อยออกเป็นยุคหินเก่า ยุคหินกลาง และยุคหินใหม่ มีอายุประมาณ 500,000 ปี - 6,000 ปีล่วงมาแล้ว
- ยุคหินเก่า มนุษย์ดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์ เก็บหาอาหาร อาศัยอยู่ในถ้ำ ใช้เครื่องมือหินที่ทำแบบหยาบๆ รู้จักเขียนภาพตามผนังถ้ำ
- ยุคหินกลาง มนุษย์ดำรงชีวิตเหมือนยุคหินเก่า รู้จักทำเครื่องมือหินที่ประณีต มากขึ้น รู้จักทำเครื่องปั้นดินเผาที่มีลักษณะผิวเรียบมัน

- ยุคหินใหม่ มนุษย์ยุคนี้ดำรงชีวิตโดยการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ตั้งหลักแหล่งถาวร ทำเครื่องมือหินขัด ทำเครื่องปั้นดินเผา ทำเครื่องประดับ

2) ยุคโลหะ ครอบคลุมช่วงเวลาประมาณ 4,000 ปี - 1,500 ปีล่วงมาแล้ว แบ่งย่อย ออกเป็นยุคทองแดง ยุคสำริด และยุคเหล็ก คือ ยึดถือเอาชนิดของโลหะที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์เป็นเกณฑ์ การแบ่ง

- ยุคสำริด มนุษย์อาศัยอยู่เป็นชุมชนใหญ่ขึ้น ดำรงชีวิตด้วยการเพาะปลูก รู้จัก ปลูกข้าว มีการเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว หมู ชีวิตความเป็นอยู่ดีกว่ายุคหินใหม่ รู้จักทำสำริดเป็นเครื่องใช้ เครื่องประดับ

- ยุคเหล็ก การดำรงชีวิตเจริญและซับซ้อนกว่ายุคสำริด มีการติดต่อค้าขายกับ อารยธรรมต่างแดน ทำให้ผู้คนมีความเจริญแตกต่างกัน มีการนำเหล็กมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ ซึ่งมีความคงทนกว่าสำริด ใช้งานได้ดีกว่า แบบที่สอง ให้ความสำคัญในเรื่องแบบแผนการดำรงชีวิตของผู้คน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ยุค ประกอบด้วย

(2.1) ยุคชุมชนล่าสัตว์ หรือเรียกว่า ยุคชุมชนหาของป่า ยุคนี้จะครอบคลุมช่วงเวลา ประมาณ 500,000 ปี - 6,000 ปีล่วงมาแล้ว
(2.2) ยุคหมู่บ้านเกษตรกรรม เป็นช่วงที่มนุษย์รู้จักการดำรงชีวิตด้วยการเพาะปลูก เลี้ยง สัตว์ สังคมยุคนี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 6,000 ปี - 2,500 ปีล่วงมาแล้ว
(2.3) ยุคสังคมเมือง เป็นช่วงที่ชุมชนพัฒนาเป็นสังคมเมือง มีลักษณะเป็นเมืองเล็กๆ สังคมแบบนี้จะถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่เมื่อ 2,500 ปีล่วงมาแล้ว

·สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นสมัยที่มนุษย์ยังไม่มีตัวอักษรสำหรับบันทึกเรื่องราว การศึกษาถึงร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในช่วงนี้จำเป็นต้องอาศัยการวิเคราะห์ตีความจากหลักฐานชั้นต้นที่ได้จากการสำรวจทางโบราณคดี เช่น เครื่องมือ เครื่องใช้ที่ทำด้วยหิน โลหะ เครื่องประดับ เครื่องปั้นดินเผา โครงกระดูก เมล็ดพืช ภาพเขียนตามฝาผนังถ้ำ เป็นต้น

·สมัยประวัติศาสตร์ เป็นช่วงที่มีตัวอักษรใช้บันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ แล้ว การศึกษาประวัติความเป็นมาของชุมชนในสมัยประวัติศาสตร์ จะมีการใช้หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์ อักษร เช่น จารึก จดหมายเหตุ บันทึกการเดินทาง ปูมโหร พงศาวดาร ตำนาน เป็นต้น และ หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ว่าจะเป็นโบราณสถาน เช่น เจดีย์ ปราสาทหิน เมืองโบราณ วัด เป็นต้น และโบราณวัตถุ เช่น พระพุทธรูป เทวรูป เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องประดับ เงินเหรียญ เป็นต้น มาเป็นข้อมูลสำหรับวิเคราะห์ตีความเพื่อให้ทราบเรื่องราวความเป็นมาในอดีตให้ชัดเจน ยิ่งขึ้น

หลักเกณฑ์การแบ่งยุคในสมัยก่อนประวัติศาสตร์

การแบ่งยุคในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ นักวิชาการมีหลักในการแบ่งยุค ดังนี้

แบบที่หนึ่ง ให้ความสำคัญในเรื่องของเทคโนโลยีการทำเครื่องมือเครื่องใช้ โดยถือว่า เทคโนโลยีมีความสำคัญต่อพัฒนาการของมนุษย์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ยุค ประกอบด้วย

1.ยุคหิน ซึ่งจำแนกออกเป็นยุคหินเก่า หินกลาง หินใหม่ มีอายุประมาณ 500,000 - 4,000 ปีล่วงมาแล้ว

2.ยุคสำริด มีอายุประมาณ 4,000 - 2500 ปีล่วงมาแล้ว

3.ยุคเหล็ก มีอายุระหว่าง 2,500 - 1,500 ปีล่วงมาแล้ว


แบบที่สอง ให้ความสำคัญเรื่องแบบแผนการดำรงชีวิตของผู้คน แบ่งออกได้ 3 ยุค ดังนี้

1.ยุคชุมชนล่าสัตว์ หรือเรียกว่า ยุคชุมชนหาของป่า ยุคนี้จะครอบคลุมช่วงเวลา ประมาณ 500,000 ปี - 6,000 ปีล่วงมาแล้ว

2.ยุคหมู่บ้านเกษตรกรรม เป็นช่วงที่มนุษย์รู้จักการดำรงชีวิตด้วยการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ สังคมยุคนี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 6,000 ปี - 2,500 ปีล่วงมาแล้ว

3.ยุคสังคมเมือง เป็นช่วงที่ชุมชนพัฒนาเป็นสังคมเมือง มีลักษณะเป็นเมืองเล็กๆ สังคมแบบนี้จะถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่เมื่อ 2,500 ปีล่วงมาแล้ว


การนับศักราช

1. การนับศักราชแบบไทย

1.1 พุทธศักราช(พ.ศ.) นิยมใช้ในประเทศที่มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ โดยเริ่ม พ.ศ. 1 ปีที่พระพุทธเจ้าดับขันธปรินิพพาน เริ่มเข้ามาสู่ประเทศไทยในสมัยอยุธยา ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช บางยุคสมัยต่อมาเปลี่ยนไปใช้ศักราชแบบอื่นบ้าง จนถึงสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ประกาศให้ใช้การนับศักราช พ.ศ.เป็นทางการ มาจนถึงปัจจุบัน
1.2 มหาศักราช(ม.ศ.) เป็นศักราชที่พระเจ้ากนิษกะกษัตริย์อินเดียตอนเหนือคิดขึ้นมาใช้ เมื่อ พ.ศ.622 หลักฐานที่มีการใช้คือ หลักศิลาจารึก หลักที่ 1ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

การเทียบ ม.ศ. ให้เป็น พ.ศ. ให้บวกด้วย 621 (ม.ศ.+621 = พ.ศ.)

การเทียบ พ.ศ. ให้เป็น ม.ศ. ให้ลบ ด้วย 621 (พ.ศ.- 621 = ม.ศ.)

1.3 จุลศักราช (จ.ศ.) เป็นสักราชที่กษัตริย์พม่าสมัยพุกามเป็นผู้ตั้งขึ้น ได้แพร่มาสู่ไทยสมัยอยุธยา ใช้ในการคำนวณทางโหราศาสตร์ พบมากในพงศาวดาร ตำนาน และจดหมายเหตุ

การเทียบ จ.ศ. ให้เป็น พ.ศ. ให้บวกด้วย 1181 (จ.ศ. + 1181 = พ.ศ.)

การเทียบ พ.ศ. ให้เป็น จ.ศ. ให้ลบ ด้วย 1181 (พ.ศ. - 1181 = จ.ศ.)

1.4 รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) เป็นศักราชที่รัชกาลที่5โดยเริ่มนับร.ศ.1ปีที่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์(พ.ศ. 2325)

การเทียบ ร.ศ. ให้เป็น พ.ศ. ให้บวกด้วย 2325 (ร.ศ. + 2325 = พ.ศ.)

การเทียบ พ.ศ. ให้เป็น ร.ศ. ให้ลบด้วย 2325 (พ.ศ. - 2325 = ร.ศ.)

2. การนับศักราชแบบ สากล ชาวต่างประเทศที่เข้าในประเทศไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา ได้บัทึกเรื่องราวที่ตนพบเห็นเป็นศักราชดังนี้


2.1เป็นศักราชของคริสต์ศาสนา เริ่มนับ ค.ศ. 1 เมื่อ พระเยซูประสูติ(ตรงกับพ.ศ. 544) 2.2 ฮิเราะห็ศักราช (ฮ.ศ) เป็นศาสนาของศาสนาของอิสลาม เริ่มนับ ฮ.ศ. 1 ในปีที่พระนบี มุฮัมหมัดศาสดาของศาสนาอิสลามหนีออกจากเมืองเมกกะไปยังเมืองเมดินา(ตรงกับ พ.ศ. 1123) การแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์ไทย แบ่งเป็น 2 สมัย คือ 1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์ หมายถึงสมัยที่ยังไม่มีการใช้การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร แบ่ง 2 ยุคย่อย คือ 1.1 ยุคหิน (ในดินแดนประเทศไทย)


ยุคหินเก่า 700,000 - 10,000 ปีมาแล้ว พบเครื่องมือหินกรวดกระเทาะหน้าเดียว ที่อำเภอแม่ทะจังหวัดลำปาง, อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย, บ้านเก่าที่จังหวัดกาญจนบุรีและอำเภอเมืองจังหวัดกระบี่

ยุคหินกลาง 10,000 - 4300 ปีมาแล้ว รู้จักประดิษฐ์เครื่องปั้นดินเผา ใช้เครื่องมือทำด้วยหินที่ประณีต รู้จักเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ฝังศพ แหล่งพบหลักฐาน ถ้ำผี จังหวัดแม่ฮ่องสอน , ถ้ำไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี


ยุคหินใหม่ 4300 - 2000 ปีมาแล้ว เครื่องมือทำด้วยหินขัด โดยตกแต่งให้ใช้งานดีขึ้นกว่าเดิมพัฒนาเครื่องปั้นดินเผาให้ประณีตมากขึ้น เช่นทำแบบมีสามขา เขียนลวดลายและสี

ยุคสำริด 3500 ปี - 2500 ปี รู้จักถลุงแร่นำมาผสมเรียกว่าสำริด คือทองแดงกับดีบุก เพื่อทำอาวุธและเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น มีด ขวาน หอก หัวลูกศร กลอง แหวน กำไร ฯลฯแหล่งค้นพบ บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี , บ้านโคกพลับจังหวัดราขบุรี


ยุคเหล็ก 2500 ปี - 1500 ปี มาแล้ว รู้จักถลุงเหล็กมาทำเป็นอาวุธและเครื่องมือเครื่องใช้แหล่งค้นพบ บ้านดอนตาเพชร จังหวัดกาญจนบุรี , บ้านเชียง จ.อุดรธานี 2. สมัยประวัติศาสตร์ (ในประเทศไทย) เริ่มนับจากปีที่พ่อขุนรามคำแหงประดิษฐ์อักษรไทย การแบ่งสมัยประศาสตร์ของไทยแบ่งได้ 3 ลักษณะ 1. แบ่งตามราชอาณาจักรหรือราชธานี ได้แก่ สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี สมัยรัตนโกสินทร์ 2. แบ่งตามลักษณะการปกครอง คือสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช และสมัยประชาธิปไตย 3. แบ่งตามประสัติศาสตร์สากล คือ


สมัยโบราณ เริ่มก่อนสุโขทัย จนสิ้นสมัยรัชกาลที่ 3


สมัยใหม่ (สมัยปรับปรุงประเทศ) เริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 จนถึงพ.ศ. 2475

ปัจจุบัน ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 - ปัจจุบัน


การนับและเทียบศักราชสากลและไทย


1.การนับศักราชสากลที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบันคือ คริสต์ศักราช ซึ่งเป็นศักราชของคริสต์ศาสนา เริ่มนับเมื่อพระเยซู(ประสูติ) ซึ่งเป็นศาสนาของคริสต์ศาสนาประสูติ นับเป็นคริสต์ศักราช 1 (ค.ศ.1) หรือ A.D.1 ย่อมาจากคำว่า “Anno Domini”
2.การนับศักราชไทย ที่ใช้กันปัจจุบัน คือพุทธศักราช ซึ่งเป็นศักราชของพระพุทธศาสนา คือ พ.ศ.1 หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว 1 ปี คือ ปีแรกนับเป็นพ.ศ.๐ เมื่อครบ 1 ปี จึงเริ่มนับ พ.ศ.1

นอกจากนับศักราชเป็นแบบ พ.ศ. แล้ว ในเมืองไทยยังมีการนับศักราชแบบอื่น ๆ ด้วย คือ รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) จุลศักราช (จ.ศ.) มหาศักราช (ม.ศ.) มีเกณฑ์การเทียบดังนี

ร.ศ. + ๒๓๒๔ = พ.ศ.
พ.ศ. - ๒๓๒๔ = ร.ศ.
จ.ศ. + ๑๑๘๑ = พ.ศ.
พ.ศ. - ๑๑๘๑ = จ.ศ.

ม.ศ. + ๖๒๑ = พ.ศ.
พ.ศ. - ๖๒๑ = ม.ศ.

ทำแบบทดสอบ