หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

มามีส่วนร่วมกันเถอะ

วิถีชีวิตคนไทยอยู่รอดด้วยภูมิปัญญาไทย/ท้องถิ่น

         - ภูมิปัญญาท้องถิ่นในเรื่องการทำมาหากิน
 
                   วิถีชีวิตของชาวบ้านเมื่อก่อนจะดู เรียบง่ายกว่าทุกวันนี้ และยังอาศัยธรรมชาติและแรงงานเป็นหลักในการทำมาหากิน แต่พวกเขาก็ต้องใช้สติปัญญาที่บรรพบุรุษถ่ายทอดมาให้เพื่อจะได้อยู่รอด ทั้งนี้เพราะปัญหาต่างๆ ในอดีตก็ยังมีไม่น้อย โดยเฉพาะเมื่อครอบครัวมีสมาชิกมากขึ้น จำเป็นต้องขยายที่ทำกิน ต้องหักร้างถางพง บุกเบิก พื้นที่ทำกินใหม่ การปรับพื้นที่ปั้นคันนาเพื่อทำนาซึ่งเป็นงานที่หนัก การทำไร่ทำนา ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์และดูแลรักษาให้เติบโตและได้ผล เป็นงานที่ต้องอาศัยความรู้ความสามารถ การจับปลาล่าสัตว์ก็มีวิธีการ บางคนมีความ สามารถมาก รู้ว่าเวลาไหนที่ใดและวิธีใดจะจับปลาได้ดีที่สุดคนที่ไม่เก่งก็ต้องใช้เวลา นานและได้ปลาน้อย การล่าสัตว์ก็เช่นเดียวกัน 
                   ชาวบ้านรู้จักการแปรรูปผลิตผลในหลาย รูปแบบ การถนอมอาหารให้กินได้นาน การดองการหมัก เช่น ปลาร้า น้ำปลา ผักดอง ปลาเค็ม เนื้อเค็ม ปลาแห้ง เนื้อแห้ง การแปรรูปข้าวก็ทำได้มากมายนับร้อยชนิด เช่น ขนมต่างๆ แต่ ละพิธีกรรมและแต่ละงานบุญประเพณี มีข้าวและขนมในรูปแบบไม่ซ้ำกัน ตั้งแต่ขนมจีน สังขยา ไปถึงขนมในงานสารท กาละแม ขนมครก และอื่นๆ ซึ่งยังพอมีให้เห็นอยู่จำนวนหนึ่ง ในปัจจุบันส่วนใหญ่ปรับเปลี่ยนมาเป็นการผลิตเพื่อขาย หรือเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน  

              - ภูมิปัญญาท้องถิ่นการแพทย์แผนไทย  

                       ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพมีคุณค่าและบทบาทสำคัญในการสร้างสุขภาพภาวะของสังคมไทย ทำให้สังคมไทยอยู่เย็นเป็นสุขและพึ่งตนเอง การฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ เป็นการฟื้นฟูด้านวัฒนธรรมและวิถีชีวิตให้กลับมาสุ่วิถีไท อันเป็นวิถีแห่งเศรษฐกิจพอเพียง อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทางด้านเศรษฐกิจ สังคม อันมีผลกระทบต่อวัฒนธรรมดั้งเดิมของชุมชน รวมทั้งกระแสบริโภคนิยมในด้านการแพทย์ ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพกำลังถูกท้าทายถึงความสามารถในการอยู่รอด ปรับตัว และพัฒนา มูลนิธิสุขภาพไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก เครือข่ายหมอพื้นบ้าน 4 ภูมิภาค และเครือข่ายองค์กรต่างๆ จึงได้ร่วมกันจัดทำแผนงานพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพเพื่อการพึ่งตน เองของชุมชนขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง เห็นคุณค่าของภูมิปัญญา และใช้ในการดูแลสุขภาพของชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป

              - ภูมิัปัญญาไทยในเรื่องความเชื่อศาสนา    

               ภูมิปัญญา ประเภทนี้จะมีลักษณะที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เนื่องจากมีพื้นฐานทางความเชื่อในศาสนาที่แตกต่างกัน สำหรับภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยซึ่งเกี่ยวกับความเชื่อในทางพระพุทธศาสนาเป็น หลักนั้นได้มีส่วนสร้างสรรค์สังคม โดยการผสมผสานกับความเชื่อดังเดิมจนกลายเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละท้องถิ่น

-               - ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับประเพณีและพิธีกรรม 
                         
                         ประเพณีและพิธีกรรมเป็นสิ่งที่ดีงามที่คนในท้องถิ่นสร้างขึ้นมา โดยเฉพาะเป็นการเพิ่มขวัญและกำลังใจคนในสังคม ภูมิปัญญาประเภทนี้จึงมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตในสังคมเป็นอย่างมากดัง จะเห็นได้จากประเพณีและพิธีกรรมที่สำคัญในประเทศไทยล้วนเกี่ยวข้องกับการ ดำเนินชีวิตของคนในสังคมแทบทั้งสิ้น

                - ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้าน                                                                                                
                      เป็นการละเล่นถือว่าเป็นการผ่อนคลายโดยเฉพาะในวัยเด็กซึ่งชอบความสนุกสนานเพลิด เพลิน ภูมิปัญญาทองถิ่นของไทยส่วนใหญ่จะใช้อุปกรณ์ในการละเล่นที่ประดิษฐ์มาจาก ธรรมชาติซึ่งแสดงให้เห็นวิถีชีวิตที่ผูกพันกับธรรมชาติ และรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมอย่างกลมกลืน

 การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย

          การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยสามารถปฏิบัติได้หลายวิธีดังต่อไปนี้

          1.  จัดให้มีการถ่ายทอดวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยจากคนรุ่นเก่าสู่คนรู่นใหม่  เช่น  การอนุรักษ์เพลงพื้นบ้านทั้งลำตัด  เพลงฉ่อย  เพลงเรือ  ด้วยการจัดชมรมประจำท้องถิ่น  หรือการเชิญพ่อเพลงแม่เพลงในชุมชนมาถ่ายทอดความรู้ให้แก่คนรุ่นหลัง  หรือจัดกิจกรรมขึ้นในโรงเรียน  เป็นต้น

          2.  เปลี่ยนแปลงค่านิยมของคนในสังคมที่ละเลยหรือไม่ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมและ ภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทย  เช่น  ควรส่งเสริมการศึกษาและใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากสมุนไพรไทย  เช่น  ที่โรงพยาบาลอภัยภูเบศร  จังหวัดปราจีนบุรี  ได้นำสมุนไพรต่าง ๆ มาสกัดเป็นยารักษาโรค  เครื่องสำอาง  ขายให้กับประชาชนทั้วไป  เป็นต้น

          3.  ร่วมกันทำให้วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันอย่างแท้ จริง  ไม่ใช่เป็นเพียงการจัดแสดงหรือรณรงค์เป็นบางช่วงเท่านั้น  เช่น  บางท้องถิ่น  บางหน่วยงานรณรงค์ให้คนในท้องถิ่นหรือในหน่วยงานแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่ตัด เย็บจากผ้าพื้นเมือง  ก็ควรหาแบบเสื้อผ้าที่เหมาะสมกับคนทุกวัย  ทุกสาขาอาชีพ  ราคาย่อมเยา  ไม่ควรให้คนรุ่นใหม่คิดว่าการแต่งกายด้วยผ้าพื้นเมืองเป็นความเชย  ดูแลรักษายาก  ราคาแพง  และเป็นเครื่องแต่งกายเฉพาะผู้สูงอายุหรือใช้แต่งเฉพาะเวลามีงานสำคัญเท่า นั้น

          4.  สร้างจิตสำนึกให้คนไทยเห็นคุณค่าและร่วมกันอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย  เช่น  ส่งเสริมและปลูกฝังให้เยาวชนรักษากิริยามารยาทแบบไทย  เช่น  มีสัมมาคารวะ  เคารพผู้ใหญ่  มีความอ่อนน้อมถ่อมตน  และรักนวลสงวนตัว  รวมทั้งส่งเสริมให้ใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องทั้งการพูดและการเขียน  เช่น  รณรงค์ให้พูดออกเสียงภาษาไทยให้ชัดเจน  ไม่พูดภาษาไทยปนภาษาอังกฤษ  เป็นต้น

 



คลิกเข้าทำแบบทดสอบจร้า !!