หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

    ความหมายและความสำคัญของภูมิปัญญาไทยวัฒนธรรมไทย




           ภูมิปัญญา (Wisdom) หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ความเชื่อ ความสามารถทางพฤติกรรมและความสามารถในการแก้ไขปัญหาของมนุษย์            
ภูมิปัญญา  เป็นเรื่องที่สั่งสมกันมาตั้งแต่อดีตและเป็นเรื่องของการจัดการความสัมพันธ์ ระหว่างคนกับคน  คนกับธรรมชาติ  คนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ  โดยผ่านกระบวนการทางจารีตประเพณี วิถีชีวิต การทำมาหากินและพิธีกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างความสัมพันธ์เหล่านี้
ภูมิปัญญา  หมายถึง ประสบการณ์ในการประกอบอาชีพ ในการศึกษาเล่าเรียน การที่ชาวนารู้จักวิธีทำนา  การไถนา การเอาควายมาใช้ในการไถ่นา  การรู้จักนวดข้าวโดยใช้ควาย  รู้จักสานกระบุง  ตระกร้า เอาไม้ไผ่มาทำเครื่องใช้ไม้สอยในชีวิตประจำวัน  เรียกว่าภูมิปัญญาทั้งสิ้น
ภูมิปัญญา  เป็นผลึกขององค์ความรู้ที่มีกระบวนการสั่งสม สืบทอด กลั่นกรอง กับมายาวนาน มีที่มาหลากหลายแต่ได้ประสบประสานกันจนเป็นเหลี่ยมกรณีที่จรัสแสงคงทนและ ท้าทายตลอดกาลเวลา ความรู้อาจจะไม่ได้เป็นเอกภาพ แต่ภูมิปัญญาจัดว่าเป็นเอกลักษณ์
ดังนั้น  อาจสรุปได้ว่า  ภูมิปัญญา หมายถึง  องค์ความรู้ ความเชื่อ ความสามารถของคนในท้องถิ่น
ที่ได้จากการสั่งสมประสบการณ์และการเรียนรู้มาเป็นระยะเวลายาวนาน มีลักษณะเป็นองค์รวม และมีคุณค่าทางวัฒนธรรม

 ประเภทของภูมิปัญญา
  1. ภูมิปัญญาพื้นบ้าน เป็นองค์ความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ที่สั่งสมและสืบทอดกันมา เป็นความสามารถและศักยภาพในเชิงการแก้ปัญหา การปรับตัวเรียนรู้และสืบทอดไปสู่คนรุ่นต่อไป เพื่อการดำรงอยู่ของเผ่าพันธุ์ จึงเป็นมรดกทางวัฒนธรรมชาติ ของเผ่าพันธุ์หรือเป็นวิถีชีวิตของชาวบ้าน

     
  2. ภูมิปัญญาชาวบ้าน  เป็นวิธีการปฏิบัติของชาวบ้าน ซึ่งได้มาจากประสบการณ์ แนวทางแก้ปัญหาแต่ละเรื่อง แต่ละประสบการณ์  แต่ละสภาพแวดล้อม ซึ่งจะมีเงื่อนไขปัจจัยเฉพาะแตกต่างกันไป นำมาใช้แก้ไขปัญหาโดยอาศัยศักยภาพที่มีอยู่โดยชาวบ้านคิดเอง เป็นความรู้ที่สร้างสรรค์และมีส่วนเสริมสร้างการผลิต หรือเป็นความรู้ของชาวบ้านที่ผ่านการปฏิบัติมาแล้วอย่างโชกโชน  เป็นส่วนหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรม
    เป็นความรู้ที่ปฏิบัติได้มีพลังและสำคัญยิ่ง ช่วยให้ชาวบ้านมีชีวิตอยู่รอดสร้างสรรค์การผลิตและช่วย
    ในด้านการทำงาน  เป็นโครงสร้างความรู้ที่มีหลักการ มีเหตุ มีผลในตัวเอง
     
  3. ภูมิปัญญาท้องถิ่น  เป็นความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ในชีวิตของคน  ผ่านกระบวนการศึกษา สังเกต คิดว่าวิเคราะห์จนเกิดปัญญาและตกผลึกเป็นองค์ความรู้ที่ประกอบกันขึ้นมาจาก ความรู้เฉพาะหลาย ๆ เรื่อง จัดว่าเป็นพื้นฐานขององค์ความรู้สมัยใหม่ที่จะช่วยในการเรียนรู้ การแก้ปัญหาจัดการและการปรับตัวในการดำเนินชีวิตของคนเรา ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นความรู้ที่มีอยู่ทั่วไปในสังคม ชุมชนและในตัวผู้รู้เอง จึงควรมีการสืบค้น
    รวบรวม ศึกษา ถ่ายทอด พัฒนาและนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง
       
  4. ภูมิปัญญาไทย  หมายถึง  องค์ความรู้ ความสามารถ
    ทักษะของคนไทยที่เกิดจากการส่งเสริมประสบการณ์ที่ผ่านกระบวนการการเลือกสรร เรียนรู้ปรุงแต่งและถ่ายทอดสืบต่อกันมา  เพื่อใช้แก้ปัญหาและพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยให้สมดุลกับสภาพแวดล้อมและเหมาะ สมกับยุคสมัย

               ภูมิปัญญาทำให้ชาติและชุมชนผ่านพ้นวิกฤติและดำรงความเป็นชาติ หรือชุมชนได้
ภูมิปัญญาเป็นองค์ความรู้ที่มีคุณค่าและความดีงามที่จรรโลงชีวิตและวิถี ชุมนให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติและสภาวะแวดล้อมได้อย่างกลมกลืนและสมดุล
ภูมิปัญญาเป็นพื้นฐานการประกอบอาชีพและเป็นรากฐานการพัฒนาที่เริ่มจากการ พัฒนาเพื่อการพึ่งพาตนเอง การพัฒนาเพื่อการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และการพัฒนาที่เกิดจากการผสมผสานองค์ความรู้สากลบนฐานภูมิปัญญาเดิม เพื่อเกิดเป็นภูมิปัญญาใหม่ที่เหมาะสมกับยุคสมัย
ดังนั้น ภูมิปัญญาจึงมีคุณค่าไม่เพียงแต่ต่อท้องถิ่นและผู้คนเท่านั้น แต่ยังเอื้อประโยชน์อย่างใหญ่หลวงต่อการวางแผนพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนและ มั่นคง

ลักษณะของภูมิปัญญาท้องถิ่น
ลักษณะสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น พอสรุปได้ดังนี้
  1. เป็นเรื่องของการใช้ความรู้  ทักษะ  ความเชื่อและพฤติกรรม
  2. แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่าง  คนกับคน  คนกับธรรมชาติ  คนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ
  3. เป็นองค์รวมหรือกิจกรรมทุกอย่างในวิถีชีวิต
  4. เป็นเรื่องของการแก้ไขปัญหา  การจัดการ  การปรับตัว  การเรียนรู้เพื่อความอยู่รอดของบุคคล ชุมชนและสังคม
  5. เป็นแกนหลักหรือกระบวนทัศน์ในการมองชีวิตเป็นพื้นความรู้ในเรื่องต่าง ๆ
  6. มีลักษณะเฉพาะหรือมีเอกลักษณ์ในตัวเอง
  7. มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อการปรับสมดุลในพัฒนาการทางสังคมตลอดเวลา
  8. มีวัฒนธรรมเป็นฐาน  ไม่ใช่วิทยาศาสตร์
  9. มีบูรณาการสูง
  10. มีความเชื่อมโยงไปสู่นามธรรมที่ลึกซึ้งสูงส่ง
  11. เน้นความสำคัญของจริยธรรมมากกว่าวัตถุธรรม                                                                                           
 

 "ภูมิปัญญาท้องถิ่น.......การทอผ้า" 


วามหมายของวัฒนธรรม

  
              หมายถึง วิถีแห่งการดำรงชีวิตของคนในสังคมนั้นๆ  นับ ตั้งแต่การดำรงชีวิติในแต่ละวัน การกิน การอยู่ การแต่งกาย การพักผ่อน การทำงาน การจราจรการขนส่ง การแสดงอารมณ์ การอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ ซึ่งวิถีชีวิตนั้น เริ่มมาจากการที่มีต้นแบบ อาจจะเป็นตัวบุคคลแล้วมีคนส่วนใหญ่ หรือประชาชนส่วนใหญ่มีความเห็นด้วยและ ปฏิบัติสืบทอดกันมา โดยสิ่งนั้นต้องเป็นสิ่งที่ดีงามเพื่อดำรงไว้ซึ่ง วัฒนธรรมไทย ตราบจบชั่วลูกชั่วหลาน

ประเภทของวัฒนธรรม

- วัฒนธรรมทางภาษา ซึ่งก็หมายถึงสำเนียงการพูด ภาษาพูดรวมถึงการ เขียนด้วย

- วัฒนธรรมทางวัตถุ ซึ่งก็คือยวดยานพาหนะ ที่อยู่อาศัย ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายให้กับชีวิตประจำวัน นั่นเอง

- วัฒนธรรมทางจิตใจ เช่นศาสนา ความเชื่อ ศีลธรรม จริยธรรม ที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ

- วัฒนธรรมทางจารีตและขนบธรรมเนียมประเพณี  เช่น การทักทายด้วยการไหว้ มารยาทการกิน การเดิน การแต่งกาย ประเพณีแต่งงานเป็นต้น

- วัฒนธรรมทางสุนทรียะ ซึ่งก็ได้แก่ศิลป
ะสาขาต่างๆ ที่มีความไพเราะ ความสวยงาม เช่น นาฏศิลป์ จิตรกรรม ดนตรี การแสดงต่างๆ เป็นต้น


                                                  “การแสดงอักษรา....หุ่นละครเล็ก”